เลือกหน้า
เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว? 

ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว กลัวลูกจะเป็นเกย์ กลัวจะเป็นกะเทย (ทอม ดี้ ไม่มี เพราะโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นโรงเรียนชายล้วน)

แล้วถามว่า ความกลัวนั้นมาจากไหน? คำตอบก็คือ มาจากรากเหง้าแห่งความเข้าใจว่า การเป็นเกย์ กะเทย ทอม ดี้ นั้นเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ผิดแผกจากธรรมชาติ ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของการเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ชายต้องคู่กับหญิง แต่งงาน มีลูก แล้วก็ตายไป ชุดความเชื่อนี้มาจากระบบการศึกษาไทยที่ไม่ได้รับการปรับปรุงอัปเดตมานับหลายทศวรรษ

“ความกลัว” ดังกล่าวนั้น “เป็นที่เข้าใจได้” และความกลัวดังกล่าวนั้น เป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเลือกการตั้งหัวข้อสัมมนานี้ที่มีคำว่า “เบี่ยงเบน” อยู่ในนั้น จนกลายเป็นเรื่องราวที่สื่อนำไปเสนอต่อเนื่องกันอย่างครึกครื้นในช่วงต้นสัปดาห์ของเดือนกันยายนที่ผ่านมา 

ขอนำแถลงการณ์ของกลุ่ม LGBT มาลงตรงนี้สั้นๆ เพื่ออธิบายว่า ทำไมไม่ควรใช้คำว่า “เบี่ยงเบน”

คำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ” เป็นคำที่สะท้อนความไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องเพศสภาพ เพศวิถี จึงเกิดอคติทางเพศ ต่อบุคคลที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด โดยคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ” หรือ “Sexual Deviation” เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อตีตรา (Stigmatization) กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ และทำให้บุคคลตกเป็นเหยื่อ (Victimization) ของการถูกตีตรานั้น เป็นการผลิตซ้ำความรุนแรงต่อบุคคลหลากหลายทางเพศ และคำนี้ได้ถูกถอดถอนจากบัญชีรายชื่อที่ใช้อธิบายกลุ่มคนหลากหลายทางเพศไปเมื่อหลายปีมาแล้ว โดย World Health Organization 

(อ้างอิงจาก http://www.who.int/bulletin/volumes/92/9/14-135541/en/)

ณ ปัจจุบัน หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยได้ลงนามผูกพันไว้ อาทิ หลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principle) ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTI) ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายในวิถีทางเพศ (Sexual Orientation) และอัตลักษณ์ทางเพศ  (Gender Identity) และต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ห้ามการเลือกปฏิบัติ และห้ามการกระทำด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ 

อีกทั้ง พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า การกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีการปฏิบัติโดยหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจะกระทำมิได้ ซึ่งคำว่า “เพศ”  นั้น  พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 มีบทบัญญัติคุ้มครองบุคคลทุกเพศรวมถึงบุคคลที่มีการแสดงออกแตกต่างจากเพศที่กำเนิดด้วย”

เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว แต่ข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ ไม่เคยไปถึงสมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนแห่งนี้ และเชื่อว่า คงไม่ไปถึงสมาคมและครูของโรงเรียนอื่นๆ ถ้าไปถึง คงไม่มีการจัดสัมมนา หัวข้อ “เลี้ยงลูกยังไงไม่ให้เบี่ยงเบน” จริงมั๊ย?

ในวันจันทร์ที่ 3 กันยายน PTA ยังคงจัดสัมมนานี้อยู่ แต่ไม่ใช้หัวข้อสัมมนาที่มีปัญหานี้ ไม่มีการตั้งหัวข้อใหม่ แต่ได้มีการเปลี่ยนจากวิทยากรภายใน เป็นบุคคลจากภายนอกที่เป็นนักจิตวิทยา มีผู้ปกครองและครูไปร่วมฟังประมาณ 50 คน และการจัดสัมมนาก็เป็นไปด้วยดี ผู้สังเกตการณ์ท่านหนึ่งเล่าว่า ผู้ฟังกระหายใคร่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเพศวิถี และเพศสภาพมาก และมีคำถามต่างๆ มากมายที่เรียกว่า “พื้นฐาน” มากเสียจนผู้เขียนเองก็อดรู้สึกประหลาดใจไม่ได้ และทำให้ผู้เขียนเกิดความเข้าใจบางอย่าง

ความเข้าใจใหม่นั้นคือ ถึงแม้โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนเอกชน และมี “ผู้มีอันจะกิน” ส่งลูกหลานเข้าเรียน ก็ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ ผู้ปกครองของที่นี่จะมีเป็นผู้มีความรู้เรื่องเพศที่เท่าทันกับโลกยุคปัจจุบัน

ผู้สังเกตการณ์เล่าว่า เขาได้รับคำถามพื้นฐานเป็นจำนวนมาก จนไม่น่าเชื่อว่าจะโดนถามแบบนั้น ตั้งแต่สาเหตุที่เป็นเกย์ การแสดงออก บทบาทความเป็นชาย เป็นหญิง เรื่อยไปจนถึง บางท่านไม่รู้ว่า ในต่างประเทศคนเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสแบบที่ชายหญิงทำกันได้แล้ว

เขาเล่าว่า มีคุณแม่ท่านหนึ่งมาบอกว่า ลูกชายเพิ่งมาบอกว่า ตัวเองน่าจะไม่ชอบผู้หญิง เมื่อได้ยินดังนั้น ตัวคุณแม่เองก็งง และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป เมื่อจบการสัมมนาพวกเขารู้สึก “ขอบคุณ” ผู้สังเกตการณ์ที่มาปรากฎกายท่านนั้นอย่างสุดซึ้งที่ทำให้พวกเขาได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ขึ้น 

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

คนที่เพิ่งดิ่งจากสะพานพระราม 8 แล้วเสียชีวิต พบศพลอยน้ำในเวลาต่อมา เป็น LGBT หรือไม่ ไม่มีการยืนยัน แต่ที่แน่ๆ ใครที่เป็น LGBT โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน  จะมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” สูงกว่าคนทั่วไปกว่า 4 เท่า ส่วนใครที่เป็นทรานเจนเดอร์ (เกิดมาในร่างชาย แต่จริงๆ...

อ่านเพิ่มเติม
ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง...

อ่านเพิ่มเติม
อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

เจ้าแห่งระบบการศึกษาของโลกอย่างอังกฤษ ไม่ใช่แค่ขยับ แต่ครั้งนี้ ปรับใหญ่ มั่นใจหลักสูตรเพศศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างเพศแนวใหม่จะสามารถเตรียมเยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลได้ Relationship and Sex Education...

อ่านเพิ่มเติม
เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว?  ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว...

อ่านเพิ่มเติม
THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube  ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที! THIS IS ME VATANIKA...

อ่านเพิ่มเติม
THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube  ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที!

THIS IS ME VATANIKA สอดส่ายชีวิตของดีไซเนอร์สาวสวยคนไทยแท้ๆ ในวัยสามสิบต้นๆ ในหลายๆ แง่มุม เธอเจ้าของแบรนด์ Vatanika (วะ-ทา-นิ-กา) และนำเสนอบางส่วนชีวิตของเพื่อนๆ ของเธอที่คบหากันมาตั้งแต่ยังเยาว์ และบางคนก็เป็นส่วนหนึ่งในบริษัทที่เธอก่อตั้งขึ้นเมื่อราว 8 ปีที่แล้ว และปัจจุบันประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้าน

วทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา” สร้างบริษัทแห่งนี้ขึ้นหลังจากเรียนจบจากอังกฤษด้านการออกแบบจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง ด้วยเป็นคนที่คิดทำธุรกิจตั้งแต่เรียนอยู่ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี เธอจึงไม่รีรอที่จะทำตามฝันในทันทีเมื่อเรียนจบ

แบรนด์ของเธอติดลมบนไปแล้วเรียบร้อย วัดจากการทุ่มเท ตั้งใจ ทำงานอย่างหนัก และด้วยวิสัยทัศน์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นคนทันสมัย หัวก้าวหน้า แต่เธอเป็นผู้หญิงที่รู้จักกาลเทศะ รู้จักการวางตัว ถ่อมตัว และที่สำคัญ ฉลาดหลักแหลม กล้านำเสนอตัวเอง

คุณมีหน้าที่อะไรในวทานิกาคะ?

เป็นคำถามที่โยนเข้ามาใน Episode เปิดตัวของซีรีส์แนวเรียลลิตี้นี้ “คุณแพร” กำลังมองมาที่กล้อง และเล่าให้ฟังอย่างช้าๆ ว่า

“จริงๆ เริ่มตั้งแต่ทำบริษัทค่ะ แพรก็ทำทุกหน้าที่อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าการที่เราจะทำอะไรได้ดี เราควรจะทำเป็นทุกๆ หน้าที่ก่อน ถึงจะเป็นเจ้านายคนอื่นได้ ไม่งั้น เราก็จะไม่สามารถสอนใครได้เลย”

แล้วเรื่องราวก็ตัดสลับเข้ากับเนื้อหาของตอนที่มีสลับฉากอย่างรวดเร็ว ภาพที่เสนอสวยงามราวอยู่บนกระดาษอาร์ตมันของนิตยสารแฟชั่น การสื่อสารพูดจาของเธอ และเพื่อนเป็นไปในแบบเพื่อนที่เรียกกันและกัน ด้วยคำว่า กู มึง และชื่อของสัตว์เลื้อยคลานคล้ายจระเข้ได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใดๆ

เป็นภาพที่ขัดแย้งสุดขั้วกับชีวิตหรูหราไฮโซของดีไซเนอร์สาวที่อาศัยอยู่บนเพนท์เฮาส์หรูบนตึกสูงลิบ จิบไวน์ ล้อมรอบตัวด้วยพนักงานคอยดูแลตั้งแต่ แม่บ้าน พ่อครัว คนนวด คนทำเล็บ คนขับรถ

ผู้หญิงที่ดูรายการนี้จะอดไม่ได้ที่อยากจะมีชีวิตแบบวทานิกา…สักครั้ง ร่าเริง สนุกสนาน ใช้ข้าวของราคาแพง แต่งตัวสวย และเป็นตัวของตัวเอง นี่ยังไม่นับรวมชายหนุ่มลึกลับที่เธอกำลังคบหา แต่ยังเก็บไว้เป็นความลับบนความสัมพันธ์ที่เธอบอกว่า “It’s complicated.” (มันอธิบายยากเพราะซับซ้อนเสียเหลือเกิน)

ความเป็นตัวเองของวทานิกาไม่เพียงแต่สะท้อนออกมาในเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเธอ แต่รวมถึงวิธีการที่เธอปฏิบัติต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานภายใต้การกำกับของเธอ ทั้งสาวใช้ที่ชื่อว่า “สา” คนขับรถประจำตัว หรือพ่อบ้านที่คอยดูแลอาหารค่ำให้เธอ 

คุณแพรจะพูดจากับบุคคลเหล่านี้อย่างสุดแสนจะไพเราะ น้ำเสียงมีความเมตตา ความกรุณา ความเย็น ซึ่งคนดูจะไม่ค่อยได้เห็นในละครหลังข่าว หรือตามสื่อต่างๆ ที่ “คุณนาย” เจ้าของบ้านจะปฏิบัติกับผู้รับใช้ด้วยการพูดจาแสนดี ให้เกียรติ จนทำให้เกิดวลี “สาจ๋า” กลายเป็นคำฮิตติดหูคนดู

จริงอยู่ เธอมีพฤติกรรมแปลกๆ ที่คนธรรมดาไม่ทำกัน แต่ในรายการนี้ เธอสามารถเรียกกระแสคนมากดไลก์ และได้เปล่งเสียงหัวเราะไปพร้อมๆ กันอย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นอาการของคนที่รักบ้านและรักข้าวของในบ้านอย่างสุดชีวิต อ่างล้างหน้าที่มีสองอ่าง ก็ต้องเก็บไว้หนึ่งอ่างไม่ให้เอาไว้ใช้ แต่เพื่อเอาไว้ “โชว์” หรือการที่เธอปลูกอะไรก็มีอันเป็นไปหมด คือ ตายเรียบ จนต้องเอาดอกไม้ปลอมๆ มาตั้งไว้ แล้วก็อดไม่ได้ที่จะฉีดน้ำจากกระบอกฟอกกี้ที่ไม่มีน้ำ แถมยังชวนเพื่อนต่างชาติที่แวะมาหา มาช่วยกันฉีดน้ำที่ไม่มีน้ำให้กับดอกไม้ปลอมๆ ในบ้านด้วยกันเป็นที่ครื้นเครง

ในความเป็นจริง รายการ YouTube หลายๆ รายการก็ผลิตขึ้นมาเพื่อความบันเทิงล้วนๆ เพื่อเรียกเสียงฮาจากบทไม่สนทนา แต่เต็มไปด้วยคำก่นดาของคนที่อยู่ในคลิปนั้นๆ รวมถึงพฤติกรรมแปลกๆ พิสดาร ตัวตนที่แหวกแนว เรียลลิตี้ของ Vatanika ไม่ได้ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ แต่ในความหลุดโลกและเสียงฮานั้น เธอได้สอดแทรกสิ่งที่เรียกว่า “สาระ” หรือ “Substance” ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม นั่นคือ ความเป็นผู้หญิงที่มีสิทธิ และความสามารถที่ควรนำเอาออกมา และมอบให้สังคม โดยเฉพาะทำให้ผู้ชาย “ยอมรับ”

ใน Episode หนึ่งที่เธอเข้าร่วมกับแคมเปญเพื่อผู้หญิงที่นางแบบสาวสวย และพิธีกรคนเก่ง “คุณซินดี้” เป็นหัวหอกสำคัญ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า Vatanika ไม่ใช่แค่ดีไซน์เสื้อผ้าสวยๆ แต่เธอมีมุมมองที่เข้มแข็งต่อการเป็นผู้หญิงอย่างแท้จริง 

ในวิดีโอคลิปที่สร้างขึ้นเพื่อประกอบแคมเปญเพื่อผู้หญิงนี้ เธอพูดว่า

“สังคมไทยยังไม่เปิดรับ ลึกๆ ยังมีกลุ่มที่รับไม่ได้ที่ผู้หญิงลุกขึ้นมาทำงาน ผู้หญิงมีความคิดเป็นของตัวเอง ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงหาเลี้ยงครอบครัว แพรคิดว่ามันไม่แฟร์ แพรเชื่อใน women’s rights นะคะ แต่แพรเชื่อมากกว่าในความเท่าเทียมกันของคนในสังคมในความเป็นคน”

ถ้าคุณผู้อ่านติดตามรายการของเธอตั้งแต่ต้น ก็คงอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า รอบๆ ตัวเธอมีแต่ ผู้หญิง ผู้หญิง และผู้หญิง ซึ่งในความเป็นจริง ชีวิตของเธอก็เป็นเช่นนั้น เพราะที่บริษัทของเธอ มีแต่ผู้หญิงทำงาน จนมีคลิปหนึ่งที่เธอพูดถึงคนขับรถผู้ชายที่เกิดมีมุมมองว่า เขารู้สึกไม่ค่อยลงตัวกับการมีผู้ว่าจ้างเป็นผู้หญิง เพราะที่ผ่านมาเขาขับรถให้แต่ “นายผู้ชาย”

สุดท้าย ผู้ชายที่มีทัศนคติแบบนี้ ก็ถูกเชิญให้แยกออกไปจากบริษัท เพราะเธอรับไม่ได้กับผู้ชายที่ไม่เห็นว่า ผู้หญิงเป็นผู้นำได้ โดยเธอบอกคนขับรถคนนั้นว่า บริษัทของเธอมีแม่เลี้ยงเดี่ยวอยู่เป็นจำนวนมาก และผู้หญิงเหล่านี้กำลังทำงาน “หาเลี้ยง” ครอบครัว

แรงบันดาลใจหนึ่งที่เธออยากเห็นก็คือ อยากเห็นคนรุ่นใหม่ที่อยากทำธุรกิจลุกขึ้นมาทำให้เป็นจริง และนี่คือที่มาของการลุกขึ้นมาทำช่องรายการของตัวเองผ่าน YouTube 

“คนเสพสื่อที่เป็น print น้อยลง และให้ความสำคัญกับสื่อ digital มากขึ้น เราก็อยากทำ content เพื่อจะสื่อถึงลูกค้า ลูกค้าดู look book หรือ ad campaign อะไร ก็ตอบว่า สวยสู้นางแบบไม่ได้ ขาไม่ยาว (เลยคิดว่า) ทำไมไม่มีสื่อของตัวเองบ้าง ทุกคนมีคาแรคเตอร์ …. และใส่ Vatanika สวยหมดเลย…. ชีวิตของเพื่อนก็เหมือนเรียลลิตี้ ทำเรียลลิตี้ เน้นแฟชั่น ก็อยากอินสไปร์เด็กวัยรุ่นที่อยากจะทำธุรกิจในสายอาชีพนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้เขาได้ไม่มากก็น้อย จะทำธุรกิจยังไงให้ประสบความสำเร็จ”

This Is Me: Vatanika เดินมาเกือบครึ่งทางแล้ว จะมีอีก 5 Episodes รวมเป็น 10 Episodes ภายในสิ้นปีนี้ 

ออกตอนใหม่ทุกปลายสัปดาห์ ผมเชื่อว่ารายการ สวย เผ็ด ดุ มีสไตล์นี้ จะทำให้คนดูได้รับอะไรมากกว่า มาดูแล้วหัวเราะๆ จบไป เหมือนกับรายการบน YouTube อื่นๆ ที่มีกลาดเกลื่อนจนเลือกดูไม่ครบ

เพราะถ้ารายการนำเสนอแค่ความฮา เพื่อเรียก Likes มีได้ก็แค่นั้น ก็ได้แค่ผ่านตาคนดู แต่จะไม่ได้นั่งอยู่ในใจคนดู เพราะมันขาด “Substance” 

It’s not complicated! (ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรเลยนะ) 

ขอบคุณภาพจาก PrestigeOnline.com และ Instagram @vatanika

คลิปจาก Youtube: http://www.youtube.com/vatanikadesign

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

คนที่เพิ่งดิ่งจากสะพานพระราม 8 แล้วเสียชีวิต พบศพลอยน้ำในเวลาต่อมา เป็น LGBT หรือไม่ ไม่มีการยืนยัน แต่ที่แน่ๆ ใครที่เป็น LGBT โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน  จะมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” สูงกว่าคนทั่วไปกว่า 4 เท่า ส่วนใครที่เป็นทรานเจนเดอร์ (เกิดมาในร่างชาย แต่จริงๆ...

ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง...

อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

เจ้าแห่งระบบการศึกษาของโลกอย่างอังกฤษ ไม่ใช่แค่ขยับ แต่ครั้งนี้ ปรับใหญ่ มั่นใจหลักสูตรเพศศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างเพศแนวใหม่จะสามารถเตรียมเยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลได้ Relationship and Sex Education...

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว?  ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว...

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube  ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที! THIS IS ME VATANIKA...