คนที่เพิ่งดิ่งจากสะพานพระราม 8 แล้วเสียชีวิต พบศพลอยน้ำในเวลาต่อมา เป็น LGBT หรือไม่ ไม่มีการยืนยัน แต่ที่แน่ๆ ใครที่เป็น LGBT โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน จะมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” สูงกว่าคนทั่วไปกว่า 4 เท่า ส่วนใครที่เป็นทรานเจนเดอร์ (เกิดมาในร่างชาย แต่จริงๆ...
ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว
ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า
ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง เธอผู้นี้มาจากสเปน และจะได้ตำแหน่งอะไรหรือไม่นั้น ยากจะคาดเดา แต่ที่แน่ๆ เธอได้เป็นสาวทรานส์เจนเดอร์คนแรกของโลกที่พลิกประวัติศาสตร์ผงาดขึ้นมายืนบนเวทีประกวดความงามแห่งนี้
ประเทศไทยยังมีเวทีสำหรับทรานส์เจนเดอร์ที่จัดในระดับท้องถิ่น ในระดับภูมิภาค และในระดับโลกอยู่หลายเวที จนนับ…แทบไม่ถ้วน และไม่ใช่ว่าเพิ่งจะจัดกัน แต่ละเวทีจัดกันนานหลายปี มีพัฒนาการขึ้นอย่างน่าชื่นชม ผู้เข้าประกวดสวยขนาดได้ชื่อว่า ทรานส์เจนเดอร์ไทยสวยขาดกว่าทุกๆ ชาติบนโลกใบนี้
แต่ทำไมสิทธิของทรานส์เจนเดอร์ไทย…ไม่ไปถึงไหน?
ในหลายประเทศ ทรานส์เจนเดอร์สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้ สามารถรับสิทธิรักษาพยาบาลในการผ่าตัดแปลงเพศได้ สามารถรับสิทธิสวัสดิการในแบบที่สตรีได้รับจากผู้ว่าจ้างที่เป็นภาครัฐ เป็นองค์กร เป็นห้างร้าน พวกเขาสามารถสมัครงาน และได้รับการพิจารณาโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ รวมถึงสามารถจดทะเบียนสมรสได้
ในแวดวงสิทธิมนุษยชน และสุขภาพ เรามีองค์กรที่ทำงานด้านนี้อย่างเข้มแข็ง ในแวดวงสื่อ เรามีพิธีกร นักแสดง ดาราตลก นักร้อง ต่างคนมากความสามารถ…เหลือล้น กระทั่งเน็ตไอดอลที่มีแฟนคลับติดตามต่อราย นับเป็นเรือนหมื่น และในเพจต่อราย นับเป็นเรือนแสน
แต่ทำไมทรานส์เจนเดอร์ไทย…ยังไม่ได้รับสิทธิอื่นใดที่ก้าวหน้า? ทำไมยังไม่ได้รับโอกาสเรื่องการสมัครงาน ทำไมพวกเขาโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบ มองไม่เห็นหนทางในอาชีพการงาน รวมถึงที่ทำงานอยู่แล้ว มองไม่เห็นความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน?
คุณ Ginger เคยเป็นวิศวกรหนุ่ม โชคดีบริษัทมีนโยบายรองรับ
ลองนึกภาพนี้ (เรื่องจริง) ผู้ชายคนหนึ่งเป็นวิศวกรของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสาร เขามีลูกน้อง มีคู่ค้า มีทีมที่ต้องดูแลระดับหลายร้อยชีวิต วันหนึ่งเขารู้ตัวเองแล้วว่า ไม่อาจอยู่ใน “สภาพ” ของการเป็นชายได้ เขาตัดสินใจ ข้ามเพศ ด้วยการแจ้งหัวหน้างาน แจ้งฝ่ายทรัพยากรบุคคล และเตรียมตัวเพื่อรับมือกับคำถามต่างๆ ในที่ทำงาน
โชคดีที่บริษัทนั้นมี “Diversity Program” ที่ระบุขั้นตอนการทำงานที่ควรจะทำ เมื่อเกิดมีพนักงานคนหนึ่งต้องการข้ามเพศ เกิดความร่วมมือกันของฝ่าย HR และชายคนนั้นในการ เตรียมข้อมูล การตอบคำถาม กระทั่งการวางแผนว่าจะลาพักร้อน แล้วกลับมาในสภาะเพศที่เป็นหญิงอย่างไร ไม่ให้เพื่อนร่วมงานแปลกใจ และไม่เป็นอันทำงาน
ผมเชื่อเรื่องหนึ่งว่า ภาพจำของคนในสังคม มีอิทธิพลสำคัญในการปฏิบัติต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาพจำบางอย่างถูกฝังตัวอยู่ในสังคมไทยอย่างยาวนาน จนกลายเป็นภาพจริง และถูกตอกย้ำขึ้นเรื่อยๆ ด้วยจำนวนภาพเดิมที่ถูกทำซ้ำแล้วซ้ำอีก
สิ่งที่ขาดหายไปจากสังคม ก็คือ ภาพของทรานส์เจนเดอร์ที่ทำงานด้านอื่นๆ “ที่ไม่ใช่วงการบันเทิงและบิวตี้” และบุคคลเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการเปิดทางให้ทรานส์เจนเดอร์รุ่นน้อง ได้งานทำ!
และที่สำคัญ งานที่ได้ทำ ไม่ใช่งานในสายเดิมๆ เท่านั้น เช่น พนักงานขายในห้าง พนักงานแคชเชียร์ประจำเคาน์เตอร์ พนักงานคอลเซ็นเตอร์ พนักงานแม่บ้าน หรือพนักงานต้อนรับ แต่เป็นพนักงานในระดับผู้บริหารระดับต้น กลาง และสูง กระทั่งถึงเจ้าของกิจการที่อยู่ในสาขาอาชีพหลากหลาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นเจ้าของร้านทำผม ร้านดอกไม้ ร้านทำเล็บ หรือร้านอาหาร ทรานส์เจนเดอร์ไทยที่มีความสามารถมีอยู่ในทุกวงการ เพียงแต่พวกเขาอยู่อย่างเงียบๆ และอาจจะเงียบเกินไป จนไม่มีใครเห็น
Tamara Lusardi ทำงานให้กองทัพสหรัฐ และข้ามเพศจากชายเป็นหญิง ในที่ทำงานเธอถูกเลือกปฏิบัติและถูกกลั่นแกล้ง ต่อมาเกิดเป็นคดีฟ้องศาล เธอเป็นฝ่ายชนะคดี ทำให้องค์กรนั้นต้องนำ Diversity Program มาใช้ในองค์กร
ในปีที่ LGBT กำลังเป็นที่จับตามองนับแต่นี้เป็นต้นไป เพราะกระแสสิทธิความเท่าเทียมกันที่ทรงพลังขึ้นทั่วโลก โดยมีองค์กรนานาชาติออกกติการ่วมกันให้สนับสนุนสิทธิอย่างเท่าเทียมของทุกเพศในประเทศ พร้อมมีสื่อโหมกระพือ และโดยเฉพาะมีภาครัฐที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ ว่า เป็นประเทศที่ได้รับการพัฒนาเลิศล้ำในด้านมนุษยชนกว่าเพื่อนบ้าน หรือกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ทรานส์เจนเดอร์ที่ทำงานในระดับผู้บริหารระดับต้น และระดับกลางควร “หากันจนเจอ” แล้วตั้งเป้าหมายว่า สิ่งที่พวกเขาจะทำเป็นการวางอนาคตให้ “รุ่นน้อง” เพื่อก้าวไปเป็นผู้บริหารระดับสูง ก้าวไปสู่การทำงานในภาคธุรกิจในตำแหน่งต่างๆ รวมถึงองค์กรภาครัฐ อย่างภาคภูมิ
สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอคือ การสร้าง Leadership Program เปิดทางให้ทรานส์เจนเดอร์ที่อยู่ในหลากหลายวงการ ไม่ใช่เฉพาะในสายบันเทิง-บิวตี้ เข้ามาสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกันที่เกิดการสื่อสารวงกว้างถึงคนทั่วไป ให้หันมาเห็นภาพที่ไม่เคยเห็น และเกิดความคิดใหม่ๆ ต่อคนกลุ่มนี้
กลุ่มทรานส์เจนเดอร์ไม่จำเป็นต้องทำงานภายใต้การรวมตัวของการเป็น LGBT อย่างเดียว เพราะประเด็น ความท้าทาย และความเป็นตัวเองของแต่ละหน่วยใน LGBT ไม่เหมือนกัน ทรานส์เจนเดอร์ที่สร้างกลุ่มที่เข้มแข็งจะส่งพลังให้กลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มความหลากหลายทางเพศเข้มแข็งขึ้น เพราะทรานส์เจนเดอร์อยู่ในความสนใจของประชาชน ผู้คนมองเห็นตัวตนของพวกเขา และเป็นผู้ที่สูญเสียโอกาสของชีวิตการทำงานที่ชัดเจน
กลุ่มทรานส์เจนเดอร์ต้องจัดกิจกรรมในประเด็นที่ดึงดูดความสนใจของสื่อ ในหลากหลายสื่อ เพื่อเกิดการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ถ้าพวกเขาสามารถจับกระแสความสนใจได้ งานของพวกเขาจะไม่ยากเลย
ประเทศไทยยอมรับการเป็นผู้นำของสตรีในแวดวงองค์กรในประเทศ องค์กรนานาชาติ และบริษัทใหญ่น้อย ในระดับตำแหน่งประธานบริษัท ในระดับตำแหน่งซีอีโอ ถ้าจะมีประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการ หรือซีอีโอ ก็สมควรแก่เวลาที่จะมีทรานส์เจนเดอร์ได้รับโอกาสนี้ ที่สำคัญคือ ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้
ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT
ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว
ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง...
อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล
เจ้าแห่งระบบการศึกษาของโลกอย่างอังกฤษ ไม่ใช่แค่ขยับ แต่ครั้งนี้ ปรับใหญ่ มั่นใจหลักสูตรเพศศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างเพศแนวใหม่จะสามารถเตรียมเยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลได้ Relationship and Sex Education...
เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”
อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว? ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว...
THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง
เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที! THIS IS ME VATANIKA...