คนที่เพิ่งดิ่งจากสะพานพระราม 8 แล้วเสียชีวิต พบศพลอยน้ำในเวลาต่อมา เป็น LGBT หรือไม่ ไม่มีการยืนยัน แต่ที่แน่ๆ ใครที่เป็น LGBT โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน จะมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” สูงกว่าคนทั่วไปกว่า 4 เท่า ส่วนใครที่เป็นทรานเจนเดอร์ (เกิดมาในร่างชาย แต่จริงๆ...
ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT
คนที่เพิ่งดิ่งจากสะพานพระราม 8 แล้วเสียชีวิต พบศพลอยน้ำในเวลาต่อมา เป็น LGBT หรือไม่ ไม่มีการยืนยัน แต่ที่แน่ๆ ใครที่เป็น LGBT โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน จะมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” สูงกว่าคนทั่วไปกว่า 4 เท่า ส่วนใครที่เป็นทรานเจนเดอร์ (เกิดมาในร่างชาย แต่จริงๆ จิตใจเป็นหญิง) “เกินครึ่งหนึ่ง” ในจำนวนทั้งหมด จะเคยมีประสบการณ์ซึมเศร้ามาก่อน รวมถึงกำลังเป็นอยู่ และยัง เป็นคนที่มีความวิตกกังวล (Anxiety) สูงกว่าคนทั่วไป ในสังคม
ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่มีการบันทึกเป็นทางการ แต่เป็นตัวเลขประเมินที่ใชักันทั่วโลก ผู้เขียนเอง ไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็น “โรคซึมเศร้า” แต่มีอาการอย่างหนึ่งที่สอดคล้องกับผู้ที่เป็น “โรคซึมเศร้า” ในสมัยเด็ก นั่นคือ เคยมีความคิดว่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ หากต้องตายจากโลกนี้ไปก่อนวัยอันควร ก็จะไม่รู้สึกเสียใจใดๆ
ความคิดนึกแบบนี้มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่อาการอื่นๆ รวมถึงอาการคิดสั้น อยากฆ่าตัวตาย ถ้าคุณมีเพื่อนเป็นเกย์ หรือเป็นสาวประเภทสอง หรือเป็นหญิงรักหญิง ลองถามเขาดูสิครับ เคยมีอาการของ “โรคซึมเศร้า” บ้างหรือเปล่า แล้วคุณจะพบว่า มีอาการเข้าข่ายอยู่หลายคนทีเดียว และยังมีอีกหลายคนที่รู้ตัว แต่ไม่ยอมบอก และมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ตัว ทั้งๆ ที่มีอาการมาบ้างแล้ว (ดูเช็กลิสต์ด้านล่าง: การประเมินเบื้องต้นว่าตัวเองมีอาการ “โรคซึมเศร้า” หรือไม่)
อาการซึมเศร้า ถือเป็นโรคชนิดหนึ่งในทางสาธารณสุข เกิดขึ้นได้เหมือนกับโรคที่เกิดขึ้นทางกายอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในชีวิตที่ไม่พึงประสงค์ ผิดคาด ผิดหวัง เช่น การสูญเสีย เลิกรา อกหัก กระทั่งเกิดขึ้นได้เองโดยไร้สาเหตุ
จริงๆ “โรคซึมเศร้า” ก็น่าจะถือเป็นอาการทางกายได้ เพราะเกี่ยวข้องกับระดับสารมีเคมีชนิดหนึ่งในสมองที่ขาดสมดุล ซึ่งรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การบำบัดจิต หรือทำทั้งสองอย่างไปด้วยกัน (ขัอมูลจากกระทรวงสาธารณสุข)“โรคซึมเศร้า” สร้างความวิตกใหักับวงการสาธารณสุขเป็นอย่างมาก
ในปี 2020 จะมีประชากรเผชิญกับอาการซึมเศร้ามากยิ่งขึ้น และจะขยายจำนวนจนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกอันดับที่ 2 รองลงมาจากโรคหัวใจหลอดเลือด ในประเทศไทยถือเป็นปัญหาที่เฝ้าจับตามองอันดับ 4
ทำไม LGBT มีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” มากกว่าบุคคลทั่วไป?
ในวัยเด็ก ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากพี่น้องในครอบครัว คุณจะรู้สึกเป็นสุข หรือเป็นทุกข์? และถ้าคุณพูดหรือบอกใครออกไปไม่ได้แม้กระทั่งคนที่คุณสนิท และรักมากที่สุดในชีวิต คุณจะรู้สึกปลอดโปร่ง หรือโดดเดี่ยวสุดขั้วหัวใจ?
ในวัยที่เติบโตขึ้น คุณมีความรักกับเพศเดียวกัน แต่คุณเก็บความรู้สึกนั้นไว้ และคุณก็ไม่มีใครจะหันหน้าคุยด้วย พอคุณรวบรวมความกล้าขึ้นมา เอ่ยปากบอกรัก แต่แล้วพบว่า เขาไม่ได้ชอบคุณในแบบนั้น คุณจะเต็มไปด้วยพลัง มีชีวิตชีวา หรือมีความหวังอะไรกับชีวิต?
LGBT ส่วนใหญ่ที่คนทั่วไปคิด หรือเห็นอยู่ในสื่อ ก็ใช่ว่า พวกเขาจะเป็นคนที่แสนจะมั่นใจในตัวเองอย่างที่เห็นในการแสดงออกนั้นๆ หลายๆ คนสร้างเกราะขึ้นมาเพื่อทำให้ตัวเองอยู่รอด และต้องต่อสู้กับสิ่งที่ตัวเองพยายามที่จะสร้างขึ้นมา นั่นคือ คุณค่าในตัวเอง
คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า มักมีปัญหาในการมองหาคุณค่าของตัวเอง พวกเขาคิดว่า ตัวเองไม่มีค่า และเมื่อไม่มีค่า ก็จะแยกตัวออกจากสังคม ใช้ชีวิตโดดเดี่ยว
จำนวนผู้ที่มีอาการซึมเศร้า อาจแสดงทางด้านตรงข้าม และมีหลายๆ กรณีที่เราจะพบข้อความบนเฟซบุ๊กที่ดูเหมือนพร่ำบ่น เพ้อเจ้อ ดราม่า แต่จริงๆ แล้วพวกเขากำลังต้องการพื้นที่ในการแสดงออกถึงความรู้สึกในขณะนั้น และพื้นที่ที่แสนง่ายที่สุดก็คือ หน้าเฟซบุ๊ก ถึงแม้จะไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสม แต่เป็นการบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น
อีกสิ่งหนึ่งที่คนรอบข้างควรเปิดใจก็คือ ผู้ที่มีอาการซึมเศร้า จะไม่กล้าพูดความจริง เขาอาจจะขอออกจากที่ทำงานเร็วกว่าปกติ แล้วก็บอกว่า ไปทำธุระ เขาอาจจะไปว่ายน้ำ แต่บอกครูฝึกสอนว่ายน้ำว่า กำลังต้องการทำกายภาพบำบัด พวกเขาจะมีแววตา และสีหน้าที่แสดงความวิตกกังวลเพราะไม่รู้ว่า เมื่อไหร่อาการซึมเศร้าจะมาจู่โจมอีก
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณมีอาการ ความคิดเห็น หรือมีความรู้สึกดังต่อไปนี้หรือไม่ ถ้ามี มีอยู่ในระดับใด
1. รู้สึกจิตใจหม่นหมอง (เกือบตลอดทั้งวัน)
2. รู้สึกเป็นทุกข์จนอยากร้องไห้
3. รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก
4. รู้สึกไม่มีความสุข หมดสนุก กับสิ่งที่เคยชอบและเคยทำ
5. รู้สึกผิดหวังในตนเอง และโทษสิ่งที่เกิดขึ้น
6. รู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง
7. รู้สึกอยากอยู่คนเดียวไม่อยากสุงสิงกับใคร
8. รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า
9. คิดอะไรไม่ออก
10. หลงลืมง่าย
11. คิดอะไรได้ช้ากว่าปกติ
12. ทำอะไรอืดอาด เชื่องช้ากว่าปกติ
13. รู้สึกอ่อนเพลียง่ายเหมือนไม่มีแรง
14. รู้สึกเบื่ออาหาร กินได้น้อยกว่าเดิม
15. นอนหลับๆ ตื่นๆ หลับไม่สนิท
ไม่คนใดคนหนึ่งในครอบครัว ไม่คนใดคนหนึ่งในที่ทำงาน หรือคนข้างๆ คุณนั่นแหละที่อาจเผชิญกับอาการซึมเศร้าอยู่ คุณไม่ต้องหาคำตอบให้กับทุกๆ คำถามของเขา เพราะเขาไม่ต้องการคนมาไขคำถาม เพียงแค่ต้องการผู้ฟัง ใครก็ได้…สักคน
ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT
ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว
ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง...
อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล
เจ้าแห่งระบบการศึกษาของโลกอย่างอังกฤษ ไม่ใช่แค่ขยับ แต่ครั้งนี้ ปรับใหญ่ มั่นใจหลักสูตรเพศศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างเพศแนวใหม่จะสามารถเตรียมเยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลได้ Relationship and Sex Education...
เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”
อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว? ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว...
THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง
เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที! THIS IS ME VATANIKA...