เลือกหน้า
ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า

ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง เธอผู้นี้มาจากสเปน และจะได้ตำแหน่งอะไรหรือไม่นั้น ยากจะคาดเดา แต่ที่แน่ๆ เธอได้เป็นสาวทรานส์เจนเดอร์คนแรกของโลกที่พลิกประวัติศาสตร์ผงาดขึ้นมายืนบนเวทีประกวดความงามแห่งนี้

ประเทศไทยยังมีเวทีสำหรับทรานส์เจนเดอร์ที่จัดในระดับท้องถิ่น ในระดับภูมิภาค และในระดับโลกอยู่หลายเวที  จนนับ…แทบไม่ถ้วน และไม่ใช่ว่าเพิ่งจะจัดกัน แต่ละเวทีจัดกันนานหลายปี มีพัฒนาการขึ้นอย่างน่าชื่นชม ผู้เข้าประกวดสวยขนาดได้ชื่อว่า ทรานส์เจนเดอร์ไทยสวยขาดกว่าทุกๆ ชาติบนโลกใบนี้

แต่ทำไมสิทธิของทรานส์เจนเดอร์ไทย…ไม่ไปถึงไหน? 

ในหลายประเทศ ทรานส์เจนเดอร์สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้ สามารถรับสิทธิรักษาพยาบาลในการผ่าตัดแปลงเพศได้ สามารถรับสิทธิสวัสดิการในแบบที่สตรีได้รับจากผู้ว่าจ้างที่เป็นภาครัฐ เป็นองค์กร เป็นห้างร้าน พวกเขาสามารถสมัครงาน และได้รับการพิจารณาโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ รวมถึงสามารถจดทะเบียนสมรสได้

ในแวดวงสิทธิมนุษยชน และสุขภาพ เรามีองค์กรที่ทำงานด้านนี้อย่างเข้มแข็ง ในแวดวงสื่อ เรามีพิธีกร นักแสดง ดาราตลก นักร้อง ต่างคนมากความสามารถ…เหลือล้น กระทั่งเน็ตไอดอลที่มีแฟนคลับติดตามต่อราย นับเป็นเรือนหมื่น และในเพจต่อราย นับเป็นเรือนแสน 

แต่ทำไมทรานส์เจนเดอร์ไทย…ยังไม่ได้รับสิทธิอื่นใดที่ก้าวหน้า? ทำไมยังไม่ได้รับโอกาสเรื่องการสมัครงาน ทำไมพวกเขาโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบ มองไม่เห็นหนทางในอาชีพการงาน รวมถึงที่ทำงานอยู่แล้ว มองไม่เห็นความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน?

คุณ Ginger เคยเป็นวิศวกรหนุ่ม โชคดีบริษัทมีนโยบายรองรับ

ลองนึกภาพนี้ (เรื่องจริง) ผู้ชายคนหนึ่งเป็นวิศวกรของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสาร เขามีลูกน้อง มีคู่ค้า มีทีมที่ต้องดูแลระดับหลายร้อยชีวิต วันหนึ่งเขารู้ตัวเองแล้วว่า ไม่อาจอยู่ใน “สภาพ” ของการเป็นชายได้ เขาตัดสินใจ ข้ามเพศ ด้วยการแจ้งหัวหน้างาน แจ้งฝ่ายทรัพยากรบุคคล และเตรียมตัวเพื่อรับมือกับคำถามต่างๆ ในที่ทำงาน

โชคดีที่บริษัทนั้นมี “Diversity Program” ที่ระบุขั้นตอนการทำงานที่ควรจะทำ เมื่อเกิดมีพนักงานคนหนึ่งต้องการข้ามเพศ เกิดความร่วมมือกันของฝ่าย HR และชายคนนั้นในการ เตรียมข้อมูล การตอบคำถาม กระทั่งการวางแผนว่าจะลาพักร้อน แล้วกลับมาในสภาะเพศที่เป็นหญิงอย่างไร ไม่ให้เพื่อนร่วมงานแปลกใจ และไม่เป็นอันทำงาน

ผมเชื่อเรื่องหนึ่งว่า ภาพจำของคนในสังคม มีอิทธิพลสำคัญในการปฏิบัติต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาพจำบางอย่างถูกฝังตัวอยู่ในสังคมไทยอย่างยาวนาน จนกลายเป็นภาพจริง และถูกตอกย้ำขึ้นเรื่อยๆ ด้วยจำนวนภาพเดิมที่ถูกทำซ้ำแล้วซ้ำอีก

สิ่งที่ขาดหายไปจากสังคม ก็คือ ภาพของทรานส์เจนเดอร์ที่ทำงานด้านอื่นๆ “ที่ไม่ใช่วงการบันเทิงและบิวตี้” และบุคคลเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการเปิดทางให้ทรานส์เจนเดอร์รุ่นน้อง ได้งานทำ! 

และที่สำคัญ งานที่ได้ทำ ไม่ใช่งานในสายเดิมๆ เท่านั้น เช่น พนักงานขายในห้าง พนักงานแคชเชียร์ประจำเคาน์เตอร์ พนักงานคอลเซ็นเตอร์ พนักงานแม่บ้าน หรือพนักงานต้อนรับ แต่เป็นพนักงานในระดับผู้บริหารระดับต้น กลาง และสูง กระทั่งถึงเจ้าของกิจการที่อยู่ในสาขาอาชีพหลากหลาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นเจ้าของร้านทำผม ร้านดอกไม้ ร้านทำเล็บ หรือร้านอาหาร ทรานส์เจนเดอร์ไทยที่มีความสามารถมีอยู่ในทุกวงการ เพียงแต่พวกเขาอยู่อย่างเงียบๆ และอาจจะเงียบเกินไป จนไม่มีใครเห็น 

Tamara Lusardi ทำงานให้กองทัพสหรัฐ และข้ามเพศจากชายเป็นหญิง ในที่ทำงานเธอถูกเลือกปฏิบัติและถูกกลั่นแกล้ง ต่อมาเกิดเป็นคดีฟ้องศาล เธอเป็นฝ่ายชนะคดี ทำให้องค์กรนั้นต้องนำ Diversity Program มาใช้ในองค์กร

ในปีที่ LGBT กำลังเป็นที่จับตามองนับแต่นี้เป็นต้นไป เพราะกระแสสิทธิความเท่าเทียมกันที่ทรงพลังขึ้นทั่วโลก โดยมีองค์กรนานาชาติออกกติการ่วมกันให้สนับสนุนสิทธิอย่างเท่าเทียมของทุกเพศในประเทศ พร้อมมีสื่อโหมกระพือ และโดยเฉพาะมีภาครัฐที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ ว่า เป็นประเทศที่ได้รับการพัฒนาเลิศล้ำในด้านมนุษยชนกว่าเพื่อนบ้าน หรือกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ทรานส์เจนเดอร์ที่ทำงานในระดับผู้บริหารระดับต้น และระดับกลางควร “หากันจนเจอ” แล้วตั้งเป้าหมายว่า สิ่งที่พวกเขาจะทำเป็นการวางอนาคตให้ “รุ่นน้อง” เพื่อก้าวไปเป็นผู้บริหารระดับสูง ก้าวไปสู่การทำงานในภาคธุรกิจในตำแหน่งต่างๆ รวมถึงองค์กรภาครัฐ อย่างภาคภูมิ

สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอคือ การสร้าง Leadership Program เปิดทางให้ทรานส์เจนเดอร์ที่อยู่ในหลากหลายวงการ ไม่ใช่เฉพาะในสายบันเทิง-บิวตี้ เข้ามาสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกันที่เกิดการสื่อสารวงกว้างถึงคนทั่วไป ให้หันมาเห็นภาพที่ไม่เคยเห็น และเกิดความคิดใหม่ๆ ต่อคนกลุ่มนี้

กลุ่มทรานส์เจนเดอร์ไม่จำเป็นต้องทำงานภายใต้การรวมตัวของการเป็น LGBT อย่างเดียว เพราะประเด็น ความท้าทาย และความเป็นตัวเองของแต่ละหน่วยใน LGBT ไม่เหมือนกัน ทรานส์เจนเดอร์ที่สร้างกลุ่มที่เข้มแข็งจะส่งพลังให้กลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มความหลากหลายทางเพศเข้มแข็งขึ้น เพราะทรานส์เจนเดอร์อยู่ในความสนใจของประชาชน ผู้คนมองเห็นตัวตนของพวกเขา และเป็นผู้ที่สูญเสียโอกาสของชีวิตการทำงานที่ชัดเจน

กลุ่มทรานส์เจนเดอร์ต้องจัดกิจกรรมในประเด็นที่ดึงดูดความสนใจของสื่อ ในหลากหลายสื่อ เพื่อเกิดการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ถ้าพวกเขาสามารถจับกระแสความสนใจได้ งานของพวกเขาจะไม่ยากเลย 

ประเทศไทยยอมรับการเป็นผู้นำของสตรีในแวดวงองค์กรในประเทศ องค์กรนานาชาติ และบริษัทใหญ่น้อย ในระดับตำแหน่งประธานบริษัท ในระดับตำแหน่งซีอีโอ ถ้าจะมีประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการ หรือซีอีโอ ก็สมควรแก่เวลาที่จะมีทรานส์เจนเดอร์ได้รับโอกาสนี้ ที่สำคัญคือ ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

คนที่เพิ่งดิ่งจากสะพานพระราม 8 แล้วเสียชีวิต พบศพลอยน้ำในเวลาต่อมา เป็น LGBT หรือไม่ ไม่มีการยืนยัน แต่ที่แน่ๆ ใครที่เป็น LGBT โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน  จะมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” สูงกว่าคนทั่วไปกว่า 4 เท่า ส่วนใครที่เป็นทรานเจนเดอร์ (เกิดมาในร่างชาย แต่จริงๆ...

อ่านเพิ่มเติม
ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง...

อ่านเพิ่มเติม
อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

เจ้าแห่งระบบการศึกษาของโลกอย่างอังกฤษ ไม่ใช่แค่ขยับ แต่ครั้งนี้ ปรับใหญ่ มั่นใจหลักสูตรเพศศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างเพศแนวใหม่จะสามารถเตรียมเยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลได้ Relationship and Sex Education...

อ่านเพิ่มเติม
เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว?  ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว...

อ่านเพิ่มเติม
THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube  ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที! THIS IS ME VATANIKA...

อ่านเพิ่มเติม
เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว? 

ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว กลัวลูกจะเป็นเกย์ กลัวจะเป็นกะเทย (ทอม ดี้ ไม่มี เพราะโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นโรงเรียนชายล้วน)

แล้วถามว่า ความกลัวนั้นมาจากไหน? คำตอบก็คือ มาจากรากเหง้าแห่งความเข้าใจว่า การเป็นเกย์ กะเทย ทอม ดี้ นั้นเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ผิดแผกจากธรรมชาติ ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของการเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ชายต้องคู่กับหญิง แต่งงาน มีลูก แล้วก็ตายไป ชุดความเชื่อนี้มาจากระบบการศึกษาไทยที่ไม่ได้รับการปรับปรุงอัปเดตมานับหลายทศวรรษ

“ความกลัว” ดังกล่าวนั้น “เป็นที่เข้าใจได้” และความกลัวดังกล่าวนั้น เป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเลือกการตั้งหัวข้อสัมมนานี้ที่มีคำว่า “เบี่ยงเบน” อยู่ในนั้น จนกลายเป็นเรื่องราวที่สื่อนำไปเสนอต่อเนื่องกันอย่างครึกครื้นในช่วงต้นสัปดาห์ของเดือนกันยายนที่ผ่านมา 

ขอนำแถลงการณ์ของกลุ่ม LGBT มาลงตรงนี้สั้นๆ เพื่ออธิบายว่า ทำไมไม่ควรใช้คำว่า “เบี่ยงเบน”

คำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ” เป็นคำที่สะท้อนความไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องเพศสภาพ เพศวิถี จึงเกิดอคติทางเพศ ต่อบุคคลที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด โดยคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ” หรือ “Sexual Deviation” เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อตีตรา (Stigmatization) กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ และทำให้บุคคลตกเป็นเหยื่อ (Victimization) ของการถูกตีตรานั้น เป็นการผลิตซ้ำความรุนแรงต่อบุคคลหลากหลายทางเพศ และคำนี้ได้ถูกถอดถอนจากบัญชีรายชื่อที่ใช้อธิบายกลุ่มคนหลากหลายทางเพศไปเมื่อหลายปีมาแล้ว โดย World Health Organization 

(อ้างอิงจาก http://www.who.int/bulletin/volumes/92/9/14-135541/en/)

ณ ปัจจุบัน หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยได้ลงนามผูกพันไว้ อาทิ หลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principle) ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTI) ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายในวิถีทางเพศ (Sexual Orientation) และอัตลักษณ์ทางเพศ  (Gender Identity) และต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ห้ามการเลือกปฏิบัติ และห้ามการกระทำด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ 

อีกทั้ง พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า การกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีการปฏิบัติโดยหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจะกระทำมิได้ ซึ่งคำว่า “เพศ”  นั้น  พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 มีบทบัญญัติคุ้มครองบุคคลทุกเพศรวมถึงบุคคลที่มีการแสดงออกแตกต่างจากเพศที่กำเนิดด้วย”

เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว แต่ข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ ไม่เคยไปถึงสมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนแห่งนี้ และเชื่อว่า คงไม่ไปถึงสมาคมและครูของโรงเรียนอื่นๆ ถ้าไปถึง คงไม่มีการจัดสัมมนา หัวข้อ “เลี้ยงลูกยังไงไม่ให้เบี่ยงเบน” จริงมั๊ย?

ในวันจันทร์ที่ 3 กันยายน PTA ยังคงจัดสัมมนานี้อยู่ แต่ไม่ใช้หัวข้อสัมมนาที่มีปัญหานี้ ไม่มีการตั้งหัวข้อใหม่ แต่ได้มีการเปลี่ยนจากวิทยากรภายใน เป็นบุคคลจากภายนอกที่เป็นนักจิตวิทยา มีผู้ปกครองและครูไปร่วมฟังประมาณ 50 คน และการจัดสัมมนาก็เป็นไปด้วยดี ผู้สังเกตการณ์ท่านหนึ่งเล่าว่า ผู้ฟังกระหายใคร่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเพศวิถี และเพศสภาพมาก และมีคำถามต่างๆ มากมายที่เรียกว่า “พื้นฐาน” มากเสียจนผู้เขียนเองก็อดรู้สึกประหลาดใจไม่ได้ และทำให้ผู้เขียนเกิดความเข้าใจบางอย่าง

ความเข้าใจใหม่นั้นคือ ถึงแม้โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนเอกชน และมี “ผู้มีอันจะกิน” ส่งลูกหลานเข้าเรียน ก็ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ ผู้ปกครองของที่นี่จะมีเป็นผู้มีความรู้เรื่องเพศที่เท่าทันกับโลกยุคปัจจุบัน

ผู้สังเกตการณ์เล่าว่า เขาได้รับคำถามพื้นฐานเป็นจำนวนมาก จนไม่น่าเชื่อว่าจะโดนถามแบบนั้น ตั้งแต่สาเหตุที่เป็นเกย์ การแสดงออก บทบาทความเป็นชาย เป็นหญิง เรื่อยไปจนถึง บางท่านไม่รู้ว่า ในต่างประเทศคนเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสแบบที่ชายหญิงทำกันได้แล้ว

เขาเล่าว่า มีคุณแม่ท่านหนึ่งมาบอกว่า ลูกชายเพิ่งมาบอกว่า ตัวเองน่าจะไม่ชอบผู้หญิง เมื่อได้ยินดังนั้น ตัวคุณแม่เองก็งง และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป เมื่อจบการสัมมนาพวกเขารู้สึก “ขอบคุณ” ผู้สังเกตการณ์ที่มาปรากฎกายท่านนั้นอย่างสุดซึ้งที่ทำให้พวกเขาได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ขึ้น 

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

คนที่เพิ่งดิ่งจากสะพานพระราม 8 แล้วเสียชีวิต พบศพลอยน้ำในเวลาต่อมา เป็น LGBT หรือไม่ ไม่มีการยืนยัน แต่ที่แน่ๆ ใครที่เป็น LGBT โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน  จะมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” สูงกว่าคนทั่วไปกว่า 4 เท่า ส่วนใครที่เป็นทรานเจนเดอร์ (เกิดมาในร่างชาย แต่จริงๆ...

อ่านเพิ่มเติม
ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง...

อ่านเพิ่มเติม
อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

เจ้าแห่งระบบการศึกษาของโลกอย่างอังกฤษ ไม่ใช่แค่ขยับ แต่ครั้งนี้ ปรับใหญ่ มั่นใจหลักสูตรเพศศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างเพศแนวใหม่จะสามารถเตรียมเยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลได้ Relationship and Sex Education...

อ่านเพิ่มเติม
เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว?  ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว...

อ่านเพิ่มเติม
THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube  ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที! THIS IS ME VATANIKA...

อ่านเพิ่มเติม
THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube  ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที!

THIS IS ME VATANIKA สอดส่ายชีวิตของดีไซเนอร์สาวสวยคนไทยแท้ๆ ในวัยสามสิบต้นๆ ในหลายๆ แง่มุม เธอเจ้าของแบรนด์ Vatanika (วะ-ทา-นิ-กา) และนำเสนอบางส่วนชีวิตของเพื่อนๆ ของเธอที่คบหากันมาตั้งแต่ยังเยาว์ และบางคนก็เป็นส่วนหนึ่งในบริษัทที่เธอก่อตั้งขึ้นเมื่อราว 8 ปีที่แล้ว และปัจจุบันประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้าน

วทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา” สร้างบริษัทแห่งนี้ขึ้นหลังจากเรียนจบจากอังกฤษด้านการออกแบบจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง ด้วยเป็นคนที่คิดทำธุรกิจตั้งแต่เรียนอยู่ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี เธอจึงไม่รีรอที่จะทำตามฝันในทันทีเมื่อเรียนจบ

แบรนด์ของเธอติดลมบนไปแล้วเรียบร้อย วัดจากการทุ่มเท ตั้งใจ ทำงานอย่างหนัก และด้วยวิสัยทัศน์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นคนทันสมัย หัวก้าวหน้า แต่เธอเป็นผู้หญิงที่รู้จักกาลเทศะ รู้จักการวางตัว ถ่อมตัว และที่สำคัญ ฉลาดหลักแหลม กล้านำเสนอตัวเอง

คุณมีหน้าที่อะไรในวทานิกาคะ?

เป็นคำถามที่โยนเข้ามาใน Episode เปิดตัวของซีรีส์แนวเรียลลิตี้นี้ “คุณแพร” กำลังมองมาที่กล้อง และเล่าให้ฟังอย่างช้าๆ ว่า

“จริงๆ เริ่มตั้งแต่ทำบริษัทค่ะ แพรก็ทำทุกหน้าที่อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าการที่เราจะทำอะไรได้ดี เราควรจะทำเป็นทุกๆ หน้าที่ก่อน ถึงจะเป็นเจ้านายคนอื่นได้ ไม่งั้น เราก็จะไม่สามารถสอนใครได้เลย”

แล้วเรื่องราวก็ตัดสลับเข้ากับเนื้อหาของตอนที่มีสลับฉากอย่างรวดเร็ว ภาพที่เสนอสวยงามราวอยู่บนกระดาษอาร์ตมันของนิตยสารแฟชั่น การสื่อสารพูดจาของเธอ และเพื่อนเป็นไปในแบบเพื่อนที่เรียกกันและกัน ด้วยคำว่า กู มึง และชื่อของสัตว์เลื้อยคลานคล้ายจระเข้ได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใดๆ

เป็นภาพที่ขัดแย้งสุดขั้วกับชีวิตหรูหราไฮโซของดีไซเนอร์สาวที่อาศัยอยู่บนเพนท์เฮาส์หรูบนตึกสูงลิบ จิบไวน์ ล้อมรอบตัวด้วยพนักงานคอยดูแลตั้งแต่ แม่บ้าน พ่อครัว คนนวด คนทำเล็บ คนขับรถ

ผู้หญิงที่ดูรายการนี้จะอดไม่ได้ที่อยากจะมีชีวิตแบบวทานิกา…สักครั้ง ร่าเริง สนุกสนาน ใช้ข้าวของราคาแพง แต่งตัวสวย และเป็นตัวของตัวเอง นี่ยังไม่นับรวมชายหนุ่มลึกลับที่เธอกำลังคบหา แต่ยังเก็บไว้เป็นความลับบนความสัมพันธ์ที่เธอบอกว่า “It’s complicated.” (มันอธิบายยากเพราะซับซ้อนเสียเหลือเกิน)

ความเป็นตัวเองของวทานิกาไม่เพียงแต่สะท้อนออกมาในเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเธอ แต่รวมถึงวิธีการที่เธอปฏิบัติต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานภายใต้การกำกับของเธอ ทั้งสาวใช้ที่ชื่อว่า “สา” คนขับรถประจำตัว หรือพ่อบ้านที่คอยดูแลอาหารค่ำให้เธอ 

คุณแพรจะพูดจากับบุคคลเหล่านี้อย่างสุดแสนจะไพเราะ น้ำเสียงมีความเมตตา ความกรุณา ความเย็น ซึ่งคนดูจะไม่ค่อยได้เห็นในละครหลังข่าว หรือตามสื่อต่างๆ ที่ “คุณนาย” เจ้าของบ้านจะปฏิบัติกับผู้รับใช้ด้วยการพูดจาแสนดี ให้เกียรติ จนทำให้เกิดวลี “สาจ๋า” กลายเป็นคำฮิตติดหูคนดู

จริงอยู่ เธอมีพฤติกรรมแปลกๆ ที่คนธรรมดาไม่ทำกัน แต่ในรายการนี้ เธอสามารถเรียกกระแสคนมากดไลก์ และได้เปล่งเสียงหัวเราะไปพร้อมๆ กันอย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นอาการของคนที่รักบ้านและรักข้าวของในบ้านอย่างสุดชีวิต อ่างล้างหน้าที่มีสองอ่าง ก็ต้องเก็บไว้หนึ่งอ่างไม่ให้เอาไว้ใช้ แต่เพื่อเอาไว้ “โชว์” หรือการที่เธอปลูกอะไรก็มีอันเป็นไปหมด คือ ตายเรียบ จนต้องเอาดอกไม้ปลอมๆ มาตั้งไว้ แล้วก็อดไม่ได้ที่จะฉีดน้ำจากกระบอกฟอกกี้ที่ไม่มีน้ำ แถมยังชวนเพื่อนต่างชาติที่แวะมาหา มาช่วยกันฉีดน้ำที่ไม่มีน้ำให้กับดอกไม้ปลอมๆ ในบ้านด้วยกันเป็นที่ครื้นเครง

ในความเป็นจริง รายการ YouTube หลายๆ รายการก็ผลิตขึ้นมาเพื่อความบันเทิงล้วนๆ เพื่อเรียกเสียงฮาจากบทไม่สนทนา แต่เต็มไปด้วยคำก่นดาของคนที่อยู่ในคลิปนั้นๆ รวมถึงพฤติกรรมแปลกๆ พิสดาร ตัวตนที่แหวกแนว เรียลลิตี้ของ Vatanika ไม่ได้ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ แต่ในความหลุดโลกและเสียงฮานั้น เธอได้สอดแทรกสิ่งที่เรียกว่า “สาระ” หรือ “Substance” ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม นั่นคือ ความเป็นผู้หญิงที่มีสิทธิ และความสามารถที่ควรนำเอาออกมา และมอบให้สังคม โดยเฉพาะทำให้ผู้ชาย “ยอมรับ”

ใน Episode หนึ่งที่เธอเข้าร่วมกับแคมเปญเพื่อผู้หญิงที่นางแบบสาวสวย และพิธีกรคนเก่ง “คุณซินดี้” เป็นหัวหอกสำคัญ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า Vatanika ไม่ใช่แค่ดีไซน์เสื้อผ้าสวยๆ แต่เธอมีมุมมองที่เข้มแข็งต่อการเป็นผู้หญิงอย่างแท้จริง 

ในวิดีโอคลิปที่สร้างขึ้นเพื่อประกอบแคมเปญเพื่อผู้หญิงนี้ เธอพูดว่า

“สังคมไทยยังไม่เปิดรับ ลึกๆ ยังมีกลุ่มที่รับไม่ได้ที่ผู้หญิงลุกขึ้นมาทำงาน ผู้หญิงมีความคิดเป็นของตัวเอง ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงหาเลี้ยงครอบครัว แพรคิดว่ามันไม่แฟร์ แพรเชื่อใน women’s rights นะคะ แต่แพรเชื่อมากกว่าในความเท่าเทียมกันของคนในสังคมในความเป็นคน”

ถ้าคุณผู้อ่านติดตามรายการของเธอตั้งแต่ต้น ก็คงอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า รอบๆ ตัวเธอมีแต่ ผู้หญิง ผู้หญิง และผู้หญิง ซึ่งในความเป็นจริง ชีวิตของเธอก็เป็นเช่นนั้น เพราะที่บริษัทของเธอ มีแต่ผู้หญิงทำงาน จนมีคลิปหนึ่งที่เธอพูดถึงคนขับรถผู้ชายที่เกิดมีมุมมองว่า เขารู้สึกไม่ค่อยลงตัวกับการมีผู้ว่าจ้างเป็นผู้หญิง เพราะที่ผ่านมาเขาขับรถให้แต่ “นายผู้ชาย”

สุดท้าย ผู้ชายที่มีทัศนคติแบบนี้ ก็ถูกเชิญให้แยกออกไปจากบริษัท เพราะเธอรับไม่ได้กับผู้ชายที่ไม่เห็นว่า ผู้หญิงเป็นผู้นำได้ โดยเธอบอกคนขับรถคนนั้นว่า บริษัทของเธอมีแม่เลี้ยงเดี่ยวอยู่เป็นจำนวนมาก และผู้หญิงเหล่านี้กำลังทำงาน “หาเลี้ยง” ครอบครัว

แรงบันดาลใจหนึ่งที่เธออยากเห็นก็คือ อยากเห็นคนรุ่นใหม่ที่อยากทำธุรกิจลุกขึ้นมาทำให้เป็นจริง และนี่คือที่มาของการลุกขึ้นมาทำช่องรายการของตัวเองผ่าน YouTube 

“คนเสพสื่อที่เป็น print น้อยลง และให้ความสำคัญกับสื่อ digital มากขึ้น เราก็อยากทำ content เพื่อจะสื่อถึงลูกค้า ลูกค้าดู look book หรือ ad campaign อะไร ก็ตอบว่า สวยสู้นางแบบไม่ได้ ขาไม่ยาว (เลยคิดว่า) ทำไมไม่มีสื่อของตัวเองบ้าง ทุกคนมีคาแรคเตอร์ …. และใส่ Vatanika สวยหมดเลย…. ชีวิตของเพื่อนก็เหมือนเรียลลิตี้ ทำเรียลลิตี้ เน้นแฟชั่น ก็อยากอินสไปร์เด็กวัยรุ่นที่อยากจะทำธุรกิจในสายอาชีพนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้เขาได้ไม่มากก็น้อย จะทำธุรกิจยังไงให้ประสบความสำเร็จ”

This Is Me: Vatanika เดินมาเกือบครึ่งทางแล้ว จะมีอีก 5 Episodes รวมเป็น 10 Episodes ภายในสิ้นปีนี้ 

ออกตอนใหม่ทุกปลายสัปดาห์ ผมเชื่อว่ารายการ สวย เผ็ด ดุ มีสไตล์นี้ จะทำให้คนดูได้รับอะไรมากกว่า มาดูแล้วหัวเราะๆ จบไป เหมือนกับรายการบน YouTube อื่นๆ ที่มีกลาดเกลื่อนจนเลือกดูไม่ครบ

เพราะถ้ารายการนำเสนอแค่ความฮา เพื่อเรียก Likes มีได้ก็แค่นั้น ก็ได้แค่ผ่านตาคนดู แต่จะไม่ได้นั่งอยู่ในใจคนดู เพราะมันขาด “Substance” 

It’s not complicated! (ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรเลยนะ) 

ขอบคุณภาพจาก PrestigeOnline.com และ Instagram @vatanika

คลิปจาก Youtube: http://www.youtube.com/vatanikadesign

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

ซึมเศร้า โรคฮิตในหมู่ LGBT

คนที่เพิ่งดิ่งจากสะพานพระราม 8 แล้วเสียชีวิต พบศพลอยน้ำในเวลาต่อมา เป็น LGBT หรือไม่ ไม่มีการยืนยัน แต่ที่แน่ๆ ใครที่เป็น LGBT โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน  จะมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” สูงกว่าคนทั่วไปกว่า 4 เท่า ส่วนใครที่เป็นทรานเจนเดอร์ (เกิดมาในร่างชาย แต่จริงๆ...

ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ทรานส์เจนเดอร์ บิวตี้-บันเทิง ล้นแล้ว

ผู้หญิงคู่กับความสวย ส่วนทรานส์เจนเดอร์คู่กับ…ความสวยกว่า ในปีนี้ เป็นครั้งแรก บนเวทีขาอ่อนระดับโลก Miss Universe 2018 จะมีทรานส์เจนเดอร์ (ผู้ที่เกิดเป็นชาย แต่ความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณเป็นหญิง) มาเดินอวดโฉมประชันความงามกับผู้เข้าประกวดที่เกิดมาเป็นผู้หญิง...

อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

อังกฤษล้ำยกเครื่องหลักสูตรเพศวัยใสหวังไล่ทันยุคโซเชียล

เจ้าแห่งระบบการศึกษาของโลกอย่างอังกฤษ ไม่ใช่แค่ขยับ แต่ครั้งนี้ ปรับใหญ่ มั่นใจหลักสูตรเพศศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างเพศแนวใหม่จะสามารถเตรียมเยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลได้ Relationship and Sex Education...

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

เมื่อโรงเรียนไม่เข้าใจคำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ”

อะไรที่ทำให้สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (PTA) จัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องเพศในหัวข้อที่เกิดเป็นข่าว? ความสงสัยใคร่รู้ ความวิตกกังวล ความสนใจ หรือความกลัว?  ถ้าดูจากหัวข้อที่ PTA ตั้งขึ้น “เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เบี่ยงเบน” ผมคิดว่า มาจากความกลัว...

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

THIS IS ME VATANIKA แรงสั่นสะเทือนของความเป็นผู้หญิง

เพียงเดือนเศษๆ รายการเรียลิตี้น้องใหม่บนช่อง YouTube  ก็กลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรียบร้อยแล้ว ด้วยยอดเข้าชมและติดตามทะลุหลักล้านในเวลาอันรวดเร็ว จนใครๆ ที่ไม่รู้ว่า วลีเด็ด “สาจ๋า….” มาจากไหน ต้องรีบกดเข้าไปดูทันที! THIS IS ME VATANIKA...

ทำไมแบรนด์ Apple ถึงถูกเชื่อมโยงเข้ากับเกย์ หรือความเป็นเกย์?

ทำไมแบรนด์ Apple ถึงถูกเชื่อมโยงเข้ากับเกย์ หรือความเป็นเกย์?

ก่อนยุค iPad, iPhone, iPod, iTunes, และ iMac ถ้าเห็นผู้ชายคนไหนกำลังใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ้คยี่ห้อ Apple จะมีคนคิดว่า “หมอนี่น่าจะเป็นเกย์” จนมีคำแซวกันขำๆ ว่า “If you are a Mac, You are a fag!” (ถ้าคุณใช้แมค คุณเป็น “ตุ๊ด” ชัวร์)

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เหล่าเกย์เป็นสาวกพันธุ์แท้ยุคแรกๆ ของ Steve Jobs และ Apple Computer ซึ่งน่าจะอธิบายได้จากผลิตภัณฑ์ยุคแรกๆ ของ Apple ที่เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงในการประมวลผล โดยเฉพาะสำหรับงานกราฟฟิค

คงไม่ใช่เพราะภาพลักษณ์หรือคำพูดที่ได้ยินบ่อยๆ ว่า ใครใช้เครื่องแมค จะดูหรู เท่ มีตังค์ และเหล่าเกย์ เป็นคนที่ชอบความหรู เท่ และมีตังค์ เลยใช้แมค

แต่น่าจะเป็นเพราะว่า เหล่าเกย์ ทำงานในแวดวงดีไซน์เป็นจำนวนมาก เราจึงมักเห็น Apple ปรากฏตัวพร้อมกับเหล่ากราฟฟิคดีไซเนอร์ และบังเอิญ คนที่ทำงานในแวดวงนี้ ถ้าเป็นเกย์ ก็มักจะไม่แอบ ไม่ปกปิดกัน

ภาพลักษณ์ของ Apple ถูกตอกย้ำให้สนิทแนบกับเกย์ และความเป็นเกย์มากยิ่งขึ้นด้วยโลโก้เฉดสีรุ้ง (ก่อนจะมาเปลี่ยนเป็นสีโครมเมื่อเร็วๆ นี้ หลัง Apple บุกตลาดคอนซูเมอร์มากขึ้นด้วยการออกผลิตภัณฑ์ตระกูล “i” สารพัด)

แต่ความจริงแล้ว ไม่มีหลักฐานบ่งชี้แน่ชัดว่า Steve Jobs เลือกโลโก้เป็นรูปแอปเปิ้ลแหว่งสีรุ้งเพราะอะไร แต่ที่แน่ๆ คือ สีรุ้งเป็นสีหนึ่งของสัญลักษณ์เกย์ กะเทย ทอม ดี้ หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว

และเป็นที่รู้กันว่า แบรนด์ Apple คือแบรนด์ที่เป็นมิตรกับเกย์ หรือ gay-friendly มากที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลก นอกจากจะเป็นแบรนด์ที่ได้รับการสำรวจว่า เป็นแบรนด์ในดวงใจของบรรดาผู้บริโภคทั่วโลกแล้ว

อย่างในปี 2008 Apple ก็ได้รับการโหวตว่าเป็นแบรนด์ gay-friendly สูงสุดอันดับสอง (รองจากสถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลชื่อ BRAVO) จากการสำรวจกว่า 2,000 คนโดยเว็บเกย์ชื่อดัง PlanetOut ร่วมกับบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง

ตัวชี้วัดการเป็นแบรนด์ขวัญใจมนุษย์สีรุ้งที่ชัดเจนที่สด น่าจะมาจากนโยบายของบริษัทที่เป็นที่รู้กันในแวดวงไอทีว่า พนักงานที่เป็นเกย์ กะเทย ทอม ดี้ ที่นี่ ไม่ต้องแอบ ไม่ต้องปกปิดตัวเอง เพราะบริษัทสนับสนุนให้พนักงานเป็นตัวของตัวเอง แถมยังมีโนบาย Equalityในเรื่องประโยชน์ต่างๆ และให้ความเท่าเทียมกันในการก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน

จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เมื่อเร็วๆ นี้ Tim Cook ได้รับเลือกเป็นทายาทของ Steve Jobs ในการกุมบังเหียนบริษัทแห่งนี้ ถึงแม้ Tim Cook จะไม่เคยพูดถึงความเป็นเกย์ของตัวเอง เขาก็ไม่เคยปฏิเสธ และในบริษัทแห่งนี้ก็สนับสนุนให้พนักงานเป็นตัวของตัวเอง (คุณจะดูใบหน้าของเหล่าเกย์ เลส ทอม ดี้ และผู้หญิงข้ามเพศได้ในวิดีโอแคมเปญดังรณรงค์ไม่ให้เหล่าเกย์วัยรุ่นฆ่าตัวตาย It Gets Better: Apple Employee

นอกจาก Tim Cook แล้ว ก็ยังมีบุคคลอื่นๆ ในตำแหน่งสำคัญของ Apple อีกที่เป็นเกย์ เช่น Randy Ubillos หนึ่งในผู้สร้างโปรแกรมตัดต่องานภาพยนตร์และวิดีโอ Final Cut (และ Premier) และ Steve Demeter ผู้ริเริ่มคิดค้นเกมที่เล่นกับ iOS

นโยบายสนับสนุนความเท่าเทียมกันของ Apple และ Steve Jobs ถือเป็นจุดยืนที่ชัดเจน ในอเมริกา หากเมืองไหนที่ Apple จะไปเปิดสำนักงานหรือเปิดการค้าร่วมด้วยนั้นไม่สนับสนุนองค์กรที่สนับสนุนความเท่าเทียมกัน Apple ก็เลือกจะไม่ไปลงทุน